Tel : (038)488354, (038)488355, (089)6976943

Dental tips




คำแนะนำหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน

สาเหตุที่ต้องใส่รีเทนเนอร์

หลังจากเครื่องมือจัดฟันแล้ว คนไข้จะได้รับเครื่องมือที่เรียกว่า รีเทนเนอร์ (Retainer) ซึ่งจะคงสภาพฟันที่จัดแล้วให้เรียงตัวให้คงสภาพสวยตลอดไป

ระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์

ใส่ตามคำแนะนำของทันตแพทย์จัดฟันของท่าน โดยส่วนใหญ่แล้วในปีแรกหลังจากถอดเครื่องมือควรใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา ถอดเฉพาะเวลารับประทานอาหารและแปรงฟันเท่านั้น หลังจากนั้นทันตแพทย์จะแนะนำอีกครั้งว่าควรใส่รีเทนเนอร์อีกนานเท่าใด

วิธีเก็บรักษารีเทนเนอร์

ควรเก็บรีเทนร์ไว้ในกล่องพลาสติกที่สามารถพกพาได้สะดวก ไม่ควรห่อด้วยกระดาษทิชชู เพราะอาจสูญหายได้ และอาจทำให้รีเทนเนอร์รูปร่างเปลี่ยนได้

การทำความสะอาดรีเทนเนอร์

ควรแปรงรีเทนร์ด้วยแปรงสีฟันกับน้ำยาล้างจาน หรือแช่ในน้ำที่มีเม็ดฟู่ทำความสะอาดรีเทนเนอร์

ถ้ารีเทนเนอร์ชำรุดหรือสูญหาย

ควรรีบติดต่อทันตแพทย์จัดฟันของท่านเพื่อทำรีเทนเนอร์ใหม่ทันที การไม่ใส่รีเทนเนอร์นานๆ จะมีผลให้ฟันกลับไปสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนจัดฟันได้

วิธีเก็บรักษารีเทนเนอร์

เนื่องจากก่อนจัดฟัน ฟันเคยซ้อน เก ห่าง หรือยื่นมาก่อน หลังจากจัดฟันเสร็จตำแหน่งของฟันนั้นได้เปลี่ยนไปจากเดิมตั้งแต่เกิด จึงจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาให้ฟันได้ปรับตัวเองให้อยู่ในตำแหน่งใหม่หลังการจัดฟัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ฟันกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมก่อนการจัดฟัน เช่น แรงจากการบดเคี้ยวและกัดอาหาร เมื่อมีแรงมากระทำต่อตัวฟันหรือแรงดุนจากลิ้น ฟันก็สามารถเคลื่อนกลับไปสู่ตำแหน่งเดิมก่อนการจัดฟันได้ การใส่รีเทนเนอร์จะช่วยประคองฟันไว้ไม่ให้เคลื่อนจากตำแหน่งที่ได้จัดฟันไว้เรียบร้อยแล้ว

คำแนะนำหลังการฟอกสีฟัน

คำแนะนำในการดูแลรักษาฟันหลังการฟอกสีฟัน

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสี เช่น ชา, กาแฟ, น้ำอัดลม, ไวน์แดง และอื่นๆ เป็นเวลา 2 วัน เนื่องจากฟันที่เพิ่งได้รับการฟอกสีฟันมาจะสามารถดูดซึมสีได้ง่าย

หลีกเลี่ยงอาหารที่เย็นหรือร้อนจัดเป็นเวลา 2 วัน เพราะอาจทำให้รู้สึกเสียวฟันได้

วิธีการดูแลรักษาฟันให้ขาวนานยิ่งขึ้น

1. ใช้ยาสีฟันเพื่อทำให้ฟันขาว (Whitening Toothpaste) เป็นประจำ

2. พบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดและขัดฟันทุก 3-4 เดือน

3. หลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีสี หรือสูบบุหรี่ ให้ดื่มน้ำเปล่าตามทุกครั้ง เพราะน้ำเปล่าสามารถช่วยล้างสีที่ผิวฟันได้

คำแนะนำหลังผ่าฟันคุด

1. ไม่ควรรบกวนบริเวณแผล หลีกเลี่ยงการแตะแผลด้วยลิ้น , นิ้ว, ผ้าเช็ดหน้าต่างๆ หรืออื่นๆ

2. ห้ามถ่มน้ำลาย , เลือด หรือบ้วนน้ำ เนื่องจากแผลอาจขยับ และทำให้เลือดไหลเพิ่มขึ้น โปรดกลืนน้ำลาย

3. ในวันแรกควรทานยาแก้ปวดทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปวด อาจใช้ความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมในสองวันแรก

4. ในวันแรกควรทานอาหารอ่อนหรือเหลว เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปติดแผล

5. ยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ เพราะฉะนั้นต้องทานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การทานยาที่ไม่ต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

6. ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ให้ไป) กลั้ววันละ 2 ครั้ง เช้า - ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)

7. ให้แปรงฟันได้ตามปกติ แตกควรหลีกเลี่ยงการกระแทกโดนบริเวณแผล

8. ในวันที่ 3 หลังผ่าตัด ให้อมน้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนปากบ่อยๆ (เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว) 3-5 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

9. การบวมช้ำหรือมีจ้ำเขียว เป็นการตอบสนองตามปกติของร่างกาย แต่หากมีการบวมมากผิดปกติ ควรติดต่อพบทันตแพทย์

10. ในคืนแรกควรหนุนหมอนสูง (ใช้หมอน2 ใบ) เพื่อลดการบวมในบริเวณที่ผ่าตัด

11. ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

คำแนะนำหลังผ่าตัดปลูกรากเทียม

1. ไม่ควรรบกวนบริเวณแผล หลีกเลี่ยงการแตะแผลด้วยลิ้น , นิ้ว , ผ้าเช็ดหน้าต่างๆ หรืออื่นๆ

2. ห้ามถ่มน้ำลาย, เลือด หรือบ้วนน้ำ เนื่องจากแผลอาจขยับ และทำให้เลือดไหลเพิ่มขึ้น โปรดกลืนน้ำลาย

3. หากมีเลือดออกเพิ่มให้ใช้ผ้าก็อตสะอาดวางบริเวณแผล กัดเบาๆ ประมาณ 15 นาที

4. ในวันแรกควรทานยาแก้ปวดทุก 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการปวด อาจใช้ความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมในวันแรก

5. ในวันแรกควรทานอาหารเหลว เพื่อป้องกันเศษอาหารเข้าไปติดแผล ในอาทิตย์แรกควรทานอาหารอ่อน และเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ หากรับประทานอาหารได้น้อยควรทานอาหารเสริม หรือไวตามินเพิ่ม ใน 1-2 อาทิตย์แรกห้ามเคี้ยวอาหาร หรือมีแรงกดในบริเวณที่ฝั่งรากเทียม

6. ไม่ควรใส่ฟันปลอม หรือหากจำเป็น ฟันปลอมจะต้องได้รับการปรับแต่งเพื่อลดแรงกดที่แผล แรงกดจากการบดเคี้ยวหรือจากฐานฟันปลอม อาจทำให้แผลแยก การหายของแผลช้าลง หรือส่งผลให้รากเทียมที่ปลูกไว้หลุดได้

7. ยาปฎิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ)ให้เพื่อการป้องกันการติดเชื้อในระยะแรก เพราะฉะนั้นยาที่ได้รับไป ต้องทานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การทานยาที่ไม่ต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

8. การรักษาความสะอาด สำคัญมากต่อการหายของแผล

  8.1. ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ให้ไป) บ้วนวันละ 2 ครั้ง เช้า - ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)

  8.2. ให้แปรงฟันได้ตามปกติ แตกควรหลีกเลี่ยงการกระแทกโดนบริเวณแผล

  8.3. ในวันที่ 3 หลังผ่าตัด ให้อมน้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนปากบ่อยๆ (เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 ลิตร) 3-5 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

9. การบวมช้ำหรือมีจ้ำเขียว เป็นการตอบสนองตามปกติของร่างกาย แต่หากมีการบวมมากผิดปกติ ควรติดต่อพบทันตแพทย์

10. ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

11. ในคืนแรกควรหนุนหมอนสูง (ใช้หมอน2 ใบ) เพื่อลดการบวมในบริเวณที่ผ่าตัด

คำแนะนำหลังการถอนฟัน

1. หลังถอนฟันให้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ซ.ม. (1/2 ซ.ม. ถ้าเป็นการถอนฟันน้ำนม) อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซเล่น

2. หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟันให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดต่อให้แน่นอีก 1/2 ซ.ม.

3. ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ช.ม. หลังถอนฟัน ควรแปรงฟันให้สะอาดหลังอาหาร และก่อนนอน โดยระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล

4. ตลอดหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ถอนฟัน ให้อมน้ำเกลือบ้วนปากเบาๆ (ใช้เกลือป่น 1/2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)

5. รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :

  5.1. ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด

  5.2. ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด

คำแนะนำหลังการทำศัลยกรรมในช่องปาก

ในการผ่าตัดฟันคุด และศัลยกรรมในช่องปากอื่นๆ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อแนะนำหลังการถอนฟัน และมีข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้

1. ในวันแรกหลังการผ่าตัด ควรประคบเย็นด้านนอกปาก บริเวณที่ใกล้แผลผ่าตัด โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรอมน้ำแข็ง

2. เริ่มประคบร้อนในวันที่ 2 โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น่จัดบิดให้หมาด อาการบวมจะลดลงเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์

3. งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

4. สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด และร้อนจัด

5. กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด

คำแนะนำหลังการรักษารากฟัน

1. หลังการรักษารากฟัน อาจมีอาการปวดอยู่ 2-3 วัน ให้รับประทานยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ

2. สัปดาห์แรกหลังการรักษา ควรรับประทานอาหารอ่อน หรือเคี้ยวอาหารโดยใช้ฟันข้างที่ไม่ได้รับการรักษา และงดการใช้ฟันที่รักษาเคี้ยวอาหารแข็ง จนกว่าการครอบฟัน หรืออุดฟันถาวรจะเสร็จสมบูรณ์

3. หากพบว่าอาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา หรือมีอาการบวมเกิดขึ้น ควรปรึกษาทันตแพทย์ที่ให้การดูแล เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

คำแนะนำหลังการขูดหินปูน และผ่าตัดเหงือก

1. หลังการขูดหินปูนภายใน 24 ช.ม. ไม่ควรบ้วนปากบ่อยๆ เพราะอาจทำให้เลือดออกตามไรฟันมากขึ้น

2. หลังการขูดหินปูน 2-3 วันแรก อาจมีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็น หรือขณะแปรงฟัน และระบมที่เหงือกเล็กน้อย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร้อนหรือเย็นจัด

3. การแปรงฟันให้สะอาดร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำ จะช่วยลดอาการเสียวฟัน และอักเสบของเหงือกให้เป็นปกติได้เร็วขึ้น

4. หลังการผ่าตัดเหงือก ควรรับประทานอาหารอ่อน งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี

5. งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

6. รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :

  6.1. ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด

  6.2. ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด

  6.3. น้ำยาอมบ้วนปาก (เฉพาะบางราย) ใช้ตามคำแนะนำ

7. กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด

คำแนะนำหลังการใช้ยาชาเฉพาะที่

ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในคนไข้เด็ก ผู้สุงอายุ และผู้ที่มีโรคทางระบบ หรือได้รับยาซึ่งอาจลดความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

1. ยาชาเฉพาะที่จะมีฤทธิ์อยู่นาน 2-3 ช.ม. หลังการรักษา

2. ควรดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการกัดริมฝีปาก ลิ้นหรือกระพุ้งแก้มขณะที่ยังชาอยู่

3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ต้องเคี้ยวขณะที่ยังรู้สึกชา หากจำเป็นให้รับประทานอาหารอ่อน และเคี้ยวโดยใช้ฟันข้างที่ไม่ได้รับการรักษา

4. หากกัดโดนริมฝีปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มเป็นแผล อาจมีเลือดออก หรือบวมร่วมด้วย ใช้ผ้าสะอาดกดไว้จนเลือดหยุด แผลจะมีอากรเจ็บหรือระบมเมื่อหายชา หากจำเป็นให้รับประทานยาแก้ปวด

5. หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยวหรือรสเผ็ด รักษาบริเวณแผลที่กัดให้สะอาด ไม่จำเป็นต้องใส่ยาที่แผล จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์

คำแนะนำหลังการใช้ยาลดความกังวล

1. งดอาหารทุกชนิดและนม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 4 ช.ม. ก่อนเวลานัด

2. หากเริ่มเป็นหวัดหรือมีไข้ก่อนวันนัด กรุณาติดต่อศูนย์ทันตกรรมทันที เพื่อปรึกษาทันตแพทย์ประจำ

3. หลังรับประทานยาลดความกังวล เด็กอาจร้องไห้งอแงกอ่นที่จะหลับ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยา ควรมีผู้ปกครองอยู่ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา

การดูแลหลังการรักษา

1. กรณีที่ผู้ปกครองขับรถมาเอง ควรมีผู้ใหญ่อีกคนหนึ่งดูแลเด็กในระหว่างที่นังรถกลับบ้าน เพราะยาที่ใช้จะมีผลทำให้เด็กง่วงนอนต่ออีก 3-4 ช.ม. หลังกการรักษา

2. เมื่อกลับถึงบ้านให้ผู้ป่วยนอนพักในที่สบาย และดูแลจนตื่นเต็มที่

3. เด็กบางคนอาจหลับต่อเนื่องนาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดน้ำ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้มีไข้ต่ำๆ ควรปลุกให้ขึ้นมาดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารอ่อน ภายหลังเสร็จการรักษาไม่เกิน 4 ช.ม.

คำแนะนำในการดมยาสลบหรือยากดความรู้สึกระดับลึก

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

1. ควรใช้วิสัญญีแพทย์ หรือแพทย์ประจำตัวตรวจร่างกายก่อนการรักษาภายใน 1 สัปดาห์ (รวมทั้งการตรวจทางแลปที่จำเป็นตามความเห็นแพทย์)

2. หากเริ่มเป็นหวัดหรือมีไข้ก่อนวันนัด กรุณาติดต่อศูนย์ทันตกรรมทันที เพื่อปรึกษาทันตแพทย์ประจำ และหากต้องเลื่อนการรักษา ทางศูนย์ฯ จะดำเนินการติดต่อวิสัญญีแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

3. เพื่อความปลอดภัยในการรักษา กรุณาปฏิบัติโดยเคร่งครัด :

  3.1. ถ้าผู้ป่วยอายุ 4 ปี งดอาหารทุกชนิดและนม 6 ช.ม. งดน้ำเปล่า 4 ช.ม. ก่อนเวลานัด

  3.2. ถ้าผู้ป่วยอายุ 4 ปี งดอาหารทุกชนิดและนม 8 ช.ม. งดน้ำเปล่า 6 ช.ม. ก่อนเวลานัด

การดูแลหลังการรักษา

1. ในกรณีทั่วไป วิสัญญีแพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่รับการรักษา หลังจากรู้สึกตัวตื่น และตอบสนองได้ดี (ประมาณ 1 ช.ม. หลังการรักษา)

2. อาการข้างเคียงที่อาจพบร่วมกับการรักษา :

  2.1. คลื่นไส้อาเจียน พบได้บ่อยใน 1-2 ช.ม. หลังการรักษา จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำจำนวนมากในช่วงนั้น

  .2. มีไข้ ในผู้ป่วยเด็กเล็กมีโอกาสเกิดไข้ต่ำๆ ได้ เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ จึงแนะนำให้เริ่มดื่มน้ำหลังจาก ช.ม. แรก โดยเริ่มจากปริมาณน้อย และถ้าเด็กไม่อาเจียน จึงเพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือให้อาหารเหลง หากมีไข้สามารถให้ยาลดไข้ร่วมด้วย

  2.3. เจ็บคอ อาจเกิดเนื่องจากคอแห้งในระหว่างการรักษา การจิบน้ำปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้งสามารถช่วยได้ และควรรับประทานอาหารอ่อนในวันแรก

  2.4. เจ็บแผล หากมีการถอนฟัน หรือผ่าตัดในช่องปากร่วมด้วย ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำในหัวข้อ ศัลยกรรมในช่องปาก

3. ดูแลในช่องปากให้สะอาด โดยใช้แปรงขนอ่อนแปรงฟันหลังอาหาร และก่อนนอน

4. ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติในวันรุ่งขึ้น


เมืองพัทยา : พัทยา เป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศของคนไทยและชาวต่างชาติ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ด้วยระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 140 กิโลเมตร ทำให้มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เมืองพัทยา มีหาดทรายที่ยาวตั้งแต่ พัทยาเหนือ พัทยา กลางพัทยาใต้ และหาดจอมเทียน    เพิ่มเติม

ออร์โธสไมล์ เดนทัล คลินิก

เรายึดมั่นในการให้บริการด้วยมาตรฐานระดับสากลด้วยทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทุกสาขา เช่น ทันตกรรมจัดฟันพัทยา ทันตกรรมรากเทียมพัทยา ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม ใส่ฟัน อุดฟัน รักษารากฟันและโรคเหงือก ทีมทันตแพทย์พัทยาของเรามีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี และได้รับการฝึกจากทั้งในและต่างประเทศ โดยผ่านการศึกษาทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดาและออสเตรเลีย มีความรู้ในด้านวิชาการเป็นอย่างดี และมีความใส่ใจในการให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือและอุปกรณ์ครบครันระบบเอ็กเรย์ดิจิตอล เครื่องเอ็กซ์เรย์จัดฟันพัทยา ระบบปลอดเชื้อมาตรฐานสากล

ติดต่อเรา

โทรศัพท์ : 038488354, 038488355, 0896976943

Email   : [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ : 9.30-20.00
ส : 10.00-17.00
อ : ปิดทำการ

212/6-7 ถ.พัทยาเหนือ ใกล้กับโรงแรมแฟร์เท็กซ์
ตรงข้ามเทอร์มินัล 21 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
โทร 038488354, 038488355, 0896976943
Email : [email protected]

All Right Reserved © 2018 www.Orthosmiledental.com Design By cw.in.th